เคยไหม… ที่รู้สึกว่ามีงานให้ทำมากมาย ทำเท่าไหร่ก็ไม่หมด หรือรู้สึกไหมว่าแค่นั่งทำงานไปสักพัก สมาธิก็หาย และนี่คือ อีกหนึ่งกฎการทำงานที่นำรูปแบบ Work life balance มาประยุกต์ด้วยเทคนิคการบริหารเวลาแบบ Pomodoro 

สำหรับ Pomodoro อ่านว่า ‘โพโมโดโระ’ มาจากภาษาอิตาลี แปลว่า มะเขือเทศ ซึ่งมะเขือเทศเป็นผลไม้ชนิดนึงที่มีประโยชน์เยอะมาก ทั้งช่วยบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื่นสดใส ช่วยเสริมคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง มีวิตามินเอซึ่งมีส่วนชวยบำรุงสายตาอีกด้วย ทว่า Pomodoro เทคนิค คือวิธีการบริหารจัดการเวลาคิดโดย ‘Francesco Cirillo’ นักพัฒนาชาวอิตาลี ซึ่งในช่วงปลายศตวรรษ 1980 ที่ตั้งชื่อเจ้าเทคนิคนี้ตามเครื่องตั้งเวลา (timer) ที่มีรูปร่างคล้ายคลึงกับรูปทรงมะเขือเทศที่เขาใช้ทำอาหารในบ้านของเขา ที่เขาใช้ตอนอ่านหนังสือสอบ ทำให้กลายเป็นชื่อและที่มาของเทคนิคนี้ที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน โดยมีการจัดเวลาเพื่อให้ทุกคนแบ่งเวลางานและเวลาพักให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพียงแค่แบ่งเวลาทำงาน 25 นาที พักเบรก 5 นาที เท่านี้ก็ช่วยให้งานปั่นไว เสร็จได้แบบไม่ต้องเครียด

สำหรับวิธีทำงานแบบ Pomodoro Technique มีทั้งหมด 5 ขั้นตอน หากสังเกตดีๆ จะล้อตามกระบวนการ PDCA (Plan-Do-Check-Act) หรือวงล้อ Demming นั่นเอง ได้แก่ Planning  Tracking  Recording Processing และ Visualizing ตามลำดับ

  1. เริ่มด้วยการที่เลือกงานที่คุณต้องการทำให้เสร็จ
  2. ตั้งนาฬิกาจับเวลา 25 นาที
  3. ตั้งใจทำงานจนกว่าจะมีเสียงดังเตือน (ทำงานอย่างจดจ่อ จนกว่านาฬิกาจับเวลาจะดังเตือน)
  4. เมื่อมีเสียงนาฬิกาดังเตือนคือการจบ Pomodoro 1 ครั้ง (ปล่อยให้ตัวเองพักประมาณ 5 นาที)
  5. เมื่อทำครบ 4 Pomodoro พัก 20 นาที (ให้พักเบรกยาวได้ 15-30 นาที)

เวลาไหนที่เหมาะกับการทำ Pomodoro

  • ทำงานในขณะที่คุณรู้สึกตื่นตัว
  • เลือกสิ่งที่คุณต้องการโฟกัส
  • กำจัดสิ่งรบกวนทิ้งไป
  • จัดระเบียบงานให้เป็นระบบ
  • จัดเวลาทำงานให้ดี

ผลลัพธ์หรือข้อดีที่ได้จากการใช้ Pomodoro

  • เมื่อได้พักบ่อยๆ ทำให้ลดอาการเหนื่อยล้าได้ รู้สึกมีแรงและพลังในการทำงานมากขึ้น
  • ทำให้สมองโฟกัสกับงานที่อยู่ตรงหน้ามากขึ้น
  • การแบ่งเวลาทำให้การทำงานไม่ถูกขัดจังหวะจากสิ่งรบกวนอื่นๆ ทั้งยังทำให้มีสมาธิมากขึ้น ส่งผลให้งานเสร็จเร็วขึ้น

เมื่อมีข้อดี ก็ย่อมมีข้อเสีย สำหรับบางคนก็อาจรู้สึกกดดันกับเวลาที่มีอย่างจำกัด แถมบางงานอาจต้องใช้มากกว่า 25 นาที ทำให้บางครั้ง เวลาอาจไม่เพียงพอในแต่ละรอบ พอได้พักก็จะขาดตอน กลับมาทำงานก็อาจต่อไม่ติด หรือบางคนที่ต้องทำงานติดต่อกับคนอื่นอยู่บ่อยๆ ก็อาจจะไม่ค่อยเหมาะกับวิธีนี้เท่าไรนัก

ดังนั้น สำหรับงานที่ซับซ้อน ถ้างานต้องการมากกว่าสี่โพโมโดโรจะต้องแบ่งออกเป็นขั้นตอนที่เล็กลง เพื่อให้มีความคืบหน้าที่ชัดเจนในแผนการ และในกรณีที่มีสิ่งรบกวนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ให้หยุดพักห้านาทีแล้วเริ่มใหม่ นอกจากจะใช้ในการทำงานได้แล้ว ยังสามารถใช้ในกรณีอื่นๆ ด้วย เช่น ใช้เวลาจะอ่านหนังสือ หรือจะทำอะไรสักอย่างที่ต้องการสมาธิ สำหรับใครที่รู้สึกว่าประสิทธิภาพในการทำงานลดลง หรือเวลาจดจ่อทำอะไรแล้วหลุดโฟกัสไป ลองนำเทคนิค pomodoros ไปใช้ เพราะ เทคนิคดังกล่าว นอกจากจะทำให้เรามีสมาธิในการทำงานแล้ว ยังสร้างกำลังใจในการทำงาน และป้องกันอาการ Burnout ของสมองได้อีกด้วย