ก่อนอื่น ผมอยากให้ทุกคนลองจินตนาการว่ากำลังขับรถไปต่างจังหวัดไกล ๆ ในรถมีคุณพ่อ คุณแม่ คนรัก และลูก ๆ อยู่ ขณะที่ดวงอาทิตย์กำลังจะลาลับขอบฟ้า คุณก็เริ่มรู้สึกว่ามีบางอย่างผิดปกติ 

นั่นคือคุณขับรถมาตลอดทาง โดยที่เพิ่งสังเกตเห็นว่ายังไม่เจอ ‘ปั๊มนํ้ามัน’ อยู่ข้างทางเลยแม้แต่ปั๊มเดียว! จริง ๆ นะครับ ‘ไม่-มี-เลย’ แล้วนํ้ามันรถคุณก็ใกล้หมดลงไปทุกที ๆ พร้อมกับท้องฟ้าที่เริ่มมืดลงเรื่อย ๆ คุณพยายามทำตัวไม่ให้ผิดสังเกต เพราะไม่อยากทำให้ครอบครัวกังวล ทว่า ที่สุดคนรักก็สังเกตเห็นจนได้ เธอเอ่ยถามว่า “มีไรหรือเปล่า” คุณทำได้เพียงบอกไปว่าไม่มีอะไรหรอกทั้งที่ในใจเต้นเร็วมากอย่างถึงที่สุดด้วยความกังวลและกลัว…ว่านํ้ามันรถหมดลงกลางทางเสียก่อน 

ทันใดนั้น เหมือนแสงสวรรค์ส่องนำทางมาให้ เมื่อคุณเห็นแสงสว่างจากปั๊มนํ้ามันข้างหน้า ซึ่งคุณสามารถแวะเติมนํ้ามันและทำให้เดินทางต่อไปถึงที่หมายได้อย่างที่ตั้งใจ คุณจึงถอนหายใจด้วยความโล่งอก แต่แค่ชั่วเลี้ยวรถเข้าไปในปั๊ม ก็ต้องพบกับความจริงอันน่าสะพรึง เมื่อเห็นจำนวนรถยนต์ที่ต่อแถวอยู่ยาวเหยียด สมาชิกในรถเสนอให้ไปเติมปั๊มอื่นดีกว่า มีแต่คุณที่รู้อยู่แก่ใจว่า เราไม่มีทางเลือกอื่นอีกแล้วสำหรับเวลานี้ เสียงคนในรถบ่นอุบด้วยความหงุดหงิดที่ต้องเสียเวลาต่อคิวรอเติมนํ้ามัน

เรื่องที่ผมยกมาเล่า หลายคนอาจจะนึกค้านในใจว่า นี่ พ.ศ.2564 แล้วนะ ปั๊มนํ้ามันมีตั้งเยอะแยะ เหตุการณ์นี้ดูจะเกินจริงไปสักหน่อยไหม แต่เรื่องนี้สามารถ ‘เกิดขึ้นทุกวัน’ กับกลุ่มคนขับขี่รถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV Car ครับ เพียงแต่เปลี่ยนจาก ‘ปั๊มนํ้ามัน’ เป็น ‘สถานีชาร์จ’ 

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา จำนวนยานยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากสภาพสิ่งแวดล้อมที่แย่ลง และราคานํ้ามันที่นับวันมีแต่จะสูงขึ้น พลังงานทางเลือกจึงเป็นสิ่งที่คนเริ่มหันมาสนใจ ‘ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย แต่เป็นทั้งโลก’ แต่เชื่อไหมครับว่า ในขณะที่รถอีวีมีแต่จะเพิ่มขึ้น ทว่าสิ่งที่ไม่เคยเพิ่มจำนวนขึ้นตามเลย ก็คือจำนวนสถานีอัดประจุไฟฟ้า หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “สถานีชาร์จ” นั่นเอง 

PUPAPLUG ออกแบบมาให้เหมาะกับบุคคลทั่วไปที่อยากเปลี่ยนพื้นที่ว่าง ด้วยการมาร่วมทำธุรกิจใหม่ไปกับ PEA ในคอนเซ็ปต์ ‘เต้ารับสำหรับธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า’

ไม่เชื่อลองไปถามกับผู้ที่ใช้รถอีวีกันดู เชื่อว่าทุกคนคงพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ปัญหาหลักของพวกเขาคือ “หาสถานีชาร์จแบตเตอรี่รถไม่ได้ จะเดินทางไปไหนก็ลำบากมาก โดยเฉพาะถ้าต้องเดินทางไกล ถ้าไม่วางแผนให้ดีว่ามีสถานีชาร์จอยู่ช่วงไหนบ้าง ก็ไม่กล้าขับรถอีวีออกจากบ้านเลยด้วยซํ้า” ยิ่งไปกว่านั้น ปัญหานี้ก็คือตัวการสำคัญที่ทำให้ผู้ขับขี่รถที่ใช้นํ้ามันยังไม่มั่นใจและไม่กล้าเปลี่ยนมาใช้รถอีวี 

“แล้วทำไมสถานีชาร์จถึงมีน้อยมากในเมืองไทย” คำตอบง่ายมากครับ เพราะ ในเมืองไทยยังมีผู้ใช้รถอีวีน้อยอยู่ จึง “ไม่มีใครอยากลงทุนทำสถานีชาร์จ เพราะกลัวขาดทุน” สังเกตไหมครับว่า กลุ่มผู้ใช้บอกว่าสถานีชาร์จมีน้อย ในขณะที่กลุ่มผู้ลงทุนก็ บอกว่าจำนวนรถอีวียังน้อย เลยกลายเป็นเหมือนคำถามโลกแตก เข้าทำนอง ‘ไก่กับไข่ อะไรเกิดก่อนกัน’ นั่นแหละครับ 

ผมขอยุติคำถามวนเวียนไม่รู้จบกรณีนี้ ด้วยการยืนยันสรุปว่า ‘สถานีชาร์จ’ ต้องมาก่อน เพียงแต่ต้องเป็นสถานีชาร์จที่เป็นมิตรทั้งกับผู้ลงทุน นั่นคือ ‘ลงทุนน้อย จุดคุ้มทุนสั้น ทันเห็นกำไร’ ที่สำคัญยังต้องเป็นมิตรกับผู้ขับขี่รถอีวีทุกคน เพื่อให้วิน-วินด้วยกันทุกฝ่าย 

PUPAPLUG คือ ผลิตภัณฑ์ที่สร้างมาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างยั่งยืน โดยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาให้เหมาะกับบุคคลทั่วไปที่อยากเปลี่ยนพื้นที่ว่าง ด้วยการมาร่วมทำธุรกิจใหม่ไปกับ PEA ในคอนเซ็ปต์ ‘เต้ารับสำหรับธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า : Change Space to Spark’ ติดตั้ง ‘ได้ง่ายเหมือนเต้ารับทั่วไป’ ติดตั้งได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร แต่ที่พิเศษกว่าคือ PUPAPLUG มีระบบสำหรับการบริหารจัดการมาให้ด้วย ในรูปแบบ Web Application เพื่อให้เจ้าของพื้นที่สามารถรับรู้รายได้ ผลกำไร และปริมาณการชาร์จที่เกิดขึ้นได้แบบ Realtime จากที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ อีกทั้ง PUPAPLUG ยังออกแบบให้ใช้งานง่าย โดยผู้ขับรถอีวีเพียงแค่ Scan QR Code ที่หน้าเครื่อง ระบบของ PUPAPLUG จะคำนวณระยะเวลาและปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ได้รับเพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจว่าจะใช้งาน PUPAPLUG มากน้อยเพียงใด 

ที่สำคัญให้บริการในราคาที่ทุกคนเข้าถึงได้ ซึ่งการมีระบบบริหารจัดการที่ดีกว่า ช่วยให้ตอบโจทย์ภาคธุรกิจได้เร็วกว่า เพียงแค่มี ‘ที่ว่าง’ ก็สามารถเปลี่ยนเป็นสถานีชาร์จรถไฟฟ้า สร้างรายได้ให้เจ้าของพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รูปแบบธุรกิจของ PUPAPLUG เหมาะมากกับภาคธุรกิจการท่องเที่ยวภายในประเทศ เพราะนอกจาก PUPAPLUG จะช่วยสร้างธุรกิจใหม่ให้แล้ว ยังเป็นการส่งเสริมธุรกิจเดิมให้เติบโตด้วยเช่นเดียวกัน 

หากวันนี้คุณขับรถอีวี แล้วเลือกสถานที่สำหรับพักคอยระหว่างชาร์จรถได้ คุณอยากหยุดพักที่ไหนครับ ในสถานีชาร์จระหว่างทาง หรือในโรงแรมที่คุณจองไว้ ถ้าคุณเดินทางคนเดียวคงไม่มีปัญหาถ้าจะรอในสถานีชาร์จ แต่ถ้าไปพร้อมครอบครัวเหมือนอย่างที่ผมยกตัวอย่างไปข้างต้น คุณคงอยากไปแวะพักชาร์จในที่ที่ได้นอนพักผ่อนอย่างเต็มอิ่มและปลอดภัย จริงไหมครับ? นี่จึงเป็นโอกาสให้โรงแรมเองก็สามารถขายห้องพัก อาหาร หรือบริการอื่น ๆ ได้ด้วย 

แล้วทำไมถึงต้องเป็น ‘เต้ารับ’ น่ะเหรอครับ เหตุผลง่าย ๆ เพราะทุกคนรู้จักและคุ้นเคยกับการใช้งานเต้ารับอยู่แล้ว เห็นปุ๊บก็ใช้เป็นทันที ไม่ต้องเสียเวลาศึกษาวิธีการใช้ เพราะถ้าบริเวณหน้าบ้านหรือในโรงจอดรถของคุณมีเต้ารับ ก็แค่ถอดออกแล้วติดตั้ง PUPAPLUG เข้าไปแทนเท่านั้น ก็ใช้งานได้แล้ว หรือถ้าผู้ลงทุนต้องการตกแต่งพื้นที่สำหรับการอัดประจุไฟฟ้าให้สวยงาม ก็สามารถปรับปรุงพื้นที่พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรเพิ่มเติมได้เลย 

แล้วระหว่างลงทุนติดตั้งเครื่อง AC Charger Wallbox กับ PUPAPLUG จะเลือกอันไหนดี ผมขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบแบบนี้ครับ หากคุณมีงบในการลงทุน 60,000 บาท คุณจะได้ AC Charger Wallbox 1 เครื่อง รองรับรถอีวีได้ 1 คัน เทียบเท่ากับลงทุนกับ PUPAPLUG ได้ 10 เครื่อง รองรับรถอีวีได้ 10 คัน 

จะเห็นได้ว่า PUPAPLUG ใช้งบลงทุนตํ่ากว่า แต่ให้บริการได้มากคันกว่า โดยหากเทียบกับจำนวนรถอีวีในปัจจุบันแล้ว การลงทุนกับ PUPAPLUG จะทำให้เจ้าของพื้นที่มองเห็นผลประกอบการและโอกาสคืนทุนได้ในระยะเวลาอันสั้นได้นั่นเอง PUPAPLUG จึงเป็นสินค้าที่น่าลงทุนและเป็นการก้าวข้ามความเป็นเต้ารับ ‘สู่การเป็นสินทรัพย์ที่สร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน’ ต่อไปได้ 

เมื่อประเทศมีสถานีชาร์จเพิ่มขึ้น การเดินทางด้วยรถอีวีก็จะไม่น่ากังวลอีกต่อไป โอกาสที่จะมีผู้ขับรถอีวีเข้ามาใช้บริการสถานีชาร์จของท่านก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

เรื่องโดย เดชวัฒน์ แช่มช้อย PEA CREATOR