บทสรุปจากซีรีส์เกาหลี Startup จะ Scale Up ได้ ต้องไปพร้อมกับ ecosystem ที่เอื้อ | Techsauce

บทสรุปจากซีรีส์เกาหลี Startup จะ Scale Up ได้ ต้องไปพร้อมกับ ecosystem ที่เอื้อ

อยากเปลี่ยนแปลงโลก ก็จงเดินตามความฝันซะ Follow your dream

** คำเตือน บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาในซีรีส์บางส่วน หากยังไม่ได้รับชม โปรดใช้ความระมัดระวัง**

นับว่าจบลงอย่างสวยงามสำหรับซีรีส์เกาหลี Start-Up ที่แฟน ๆ ร่วมเดินทางกันมากว่า 2 เดือนเต็ม ที่ต้องมาลุ้นความเป็นไปกันทุกสัปดาห์ในระหว่างที่กำลังออนแอร์ สำหรับบทสรุปในแง่ของธุรกิจ Startup ท้ายที่สุดเราก็ได้เห็นถึงความสำเร็จเป็นขั้นบันได จากการเดินทางมาตั้งแต่จุดเล็ก ๆ ผ่านกระบวนการต่าง ๆ จนทำให้ธุรกิจของซอดัลมี และนัมโดซานที่ร่วมสร้างกันมาประสบความสำเร็จจนสามารถเป็นยูนิคอร์นได้ (ธุรกิจ Startup มูลค่ากว่าพันล้านดอลลาร์ ) 

ความน่าสนใจที่ซีรีส์เรื่องนี้ได้ทิ้งไว้ในเราลองคิดตามในตอนสุดท้าย คือ การขยายธุรกิจของ Startup หรือ การ Scale Up นั่นเอง ตั้งแต่ต้นเรื่องเราได้เห็นการเดินทางที่ผ่านร้อนผ่านหนาวของการก่อตั้งธุรกิจไม่น้อยเลยทีเดียว ถือว่าครบ  Loop ที่ตัวละครต่างได้เรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์ในการทำธุรกิจอย่างเต็มที่

ถึงช่วงหนึ่งของซีรีส์ในตอนสุดท้ายที่นัมโดซานได้ถามประธานซอดัลมีว่า "คิดว่าทาซานจะไปได้ไกลสักแค่ไหน" แล้วดัลมีตอบว่าเป้าหมายคือ เลเวลห้าอยู่แล้ว (การที่รถยนต์ไร้คนขับสามารถขับขี่ได้อย่างสมบูรณ์แบบโดยไม่ต้องใช้ที่นั่งคนขับ) แต่มันไม่ได้อยู่ที่แค่ว่า เราทำได้ดีนี่สิ ทั้งกฎหมาย สภาพแวดล้อมบนถนน ต้องเป็นไปตามโครงสร้างพื้นฐาน" 

จากการกล่าวเช่นนี้ของประธานซอดัลมี จะเห็นได้เลยว่าแม้ที่ผ่านมาจะได้รับการสนับสนุนในการบ่มเพาะธุรกิจเต็มที่ มีบุคคลกรที่มีความสามารถ โปรดักส์ดี เทคโนโลยีดีขนาดไหน แต่จะไม่สามารถไปได้ไกลเลยถ้าหากระบบนิเวศน์ (ecosystem) ไม่เอื้อให้เติบโตไปพร้อมกัน มันก็เหมือนกับทำของดีที่ไม่มีคนใช้ 

ยกตัวอย่างเห็นภาพง่าย ๆ อย่างกรณีรถยนต์ไฟฟ้าที่ต่อให้หลายบริษัทจะผลิตออกมา แต่สถานีชาร์จไม่พร้อม ไม่มีคนใช้ สภาพถนน การจราจรไม่เอื้อ หรือแม้กระทั่ง policy จากภาครัฐไม่สนับสนุนก็ไม่สามารถที่จะทำให้แพร่หลายและเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ 

นอกจากนี้ประธานซอดัลมี ยังพูดไปถึงเป้าหมายที่เธอตั้งใจทำยานยนต์ไร้คนขับอย่างทาซานให้เกิดจริง ๆ นั้นคือ จากกการที่พ่อของเธอเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ หรือย่าที่เกือบจะสูญเสียการมองเห็น ซอดัลมีตั้งเป้าหมายว่าอยากให้โลกที่มีทาซานอยู่ ไม่มีอุบัติเหตุแบบที่พ่อเธอเคยเจอ อยากให้คุณย่าได้เดินทางไปไหนมาไหนได้อย่างสบายใจ 

จากเป้าหมายตรงนั้น นัมโดซานได้บอกว่า "ทุกอย่างสามารถเป็นจริงตามที่ซอดัลมีกล่าวมาภายในระยะเวลา 5 ปีครึ่ง แต่ถ้าเรา Scale Up อย่างถูกต้องและลงทุนกับการวิจัยและพัฒนา (R&D) อย่างต่อเนื่องก็จะเป็นไปได้ภายใน 3 ปี"  แน่นอนว่าการเข้าประมูลโครงการ smart city  ก็เป็นหนึ่งในแนวทางที่เอาตัวเองเข้าไปอยู่ในระบบนิเวศน์ที่เอื้อ เพื่อให้สามารถขยายธุรกิจได้เช่นกัน 

นอกจากเป้าหมายที่วางไว้อย่างดีแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม Startup ก็ยังเป็นธุรกิจที่ต้องหมุนด้วยเงินทุนอยู่ดี ประธานซอดัลมีเห็นว่าการที่โปรดักส์ของชองมยองคอมพานี สามารถเข้ารอบ 5 ทีมสุดท้ายของการเข้าร่วมประมูลโครงการขนาดใหญ่ได้นั้น นับว่าเทคโนโลยีของเธอก็มีศักยภาพด้านการแข่งขันได้ดีเลยทีเดียว ดังนั้นเธอจึงต้อง Scale Up เพื่อเร่งความเร็วในการเติบโต ด้วยการเพิ่มกำลังคน (manpower) และการลงทุนใน R&D ดังนั้นจึงต้องระดมทุน ในช่วงที่ธุรกิจกำลังเนื้อหอม 

ตัดมาที่ในมุมของ VC ซึ่งเป็นผู้ลงทุน อย่าง  SH Venture ที่ประธานยุนได้เฝ้ามองด้วยความสนใจมาตั้งแต่สมัยซัมซานเทค ต้องการที่จะลงทุนให้ จากการที่เป็น Startup ที่เติบโตมากพอที่จะลงทุนได้แล้ว 

และได้มอบหมายให้ผู้อำนวยการฮันจีพยอง คนดีศรี sandbox ผู้ไม่มีดวงเรื่องความรักนั้น เป็นคนรับหน้าที่นี้ไป ในการดูแลชองมยองคอมพานี ซึ่งมีศักยภาพการเติบโตสูงมากโดยไม่นานก็จะเติบโตเข้าสู่ J-Curve ที่แม้ว่าในช่วงแรกอาจจะติดลบเพราะต้อง  burn เงินลงทุนไปกับการเร่งความเร็วของธุรกิจ แต่ก็จะมีศักยภาพที่จะกลับมาเป็นบวกได้ในที่สุดจากการที่จะสามารถ Exit ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ ซึ่งจะกราฟเติบโตคล้ายกับรูปตัว J ทำให้นักลงทุนต่างก็จะมองว่าคุ้มค่าที่จะเสี่ยงไปกับ Startup

โดยในแง่ของระบบนิเวศน์นั้นจะเห็นได้ว่า VC มักจะให้ความสำคัญกับการลงทุนกับ  Startup ที่ Scale Up มากกว่า ระยะเริ่มต้น เพราะเงินทุนที่ลงไปนั้นจะเป็นจะเป็นเงินที่ช่วยให้  Startup นำมาใช้เพื่อการขยายธุรกิจต่อนั่นเอง มันจึงเป็นที่มาของการเปิดระดมทุนใน round ต่าง ๆ ที่เริ่มต้นตั้ง Series A B C …. ตามวัตถุประสงค์ของ Startup ที่จะนำเงินไปใช้ เพราะก่อนจะขอเงินจากนักลงทุนได้ Startup ต้องรู้ก่อนว่าจะนำเงินไปทำอะไร 

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจ Startup ถือเป็นการเข้าสร้างความเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจเป็นอย่างมาก โดยได้ที่เข้ามา Disrupt หลายอุตสาหกรรมที่ต้องพากัน Transform อย่างหนัก เพราะ Startup เป็นธุรกิจที่เกิดจากไอเดียที่มุ่งเน้นการแก้ Pain point หรือการสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ (New S-Curve) ด้วยเทคโนโลยีในการขับเคลื่อน รวมถึงเป็นธุรกิจที่สามารถขยายการเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ด้วยวัฒนธรรมองค์กรที่มีความคล่องตัวสูง การกล้าลองผิด ลองถูก ทำให้สามารถคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งปัจจุบันทำให้หลายองค์กรใหญ่ต่างให้ความสำคัญกับการสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้คล่องตัวแแบบ  Startup 

สำหรับองค์กรใดที่สนใจเรื่องของการสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้มีความแข็งแกร่ง สามารถติดตามได้ที่  งาน Techsauce Culture Summit 2021 ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิพิเศษก่อนใคร ได้ที่ https://bit.ly/33Bn5ki 


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ETDA เปิดตัว SMEs GROWTH ชวนผู้ประกอบการไทย ยกระดับนวัตกรรมด้านดิจิทัลเชิงพื้นที่ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจดิจิทัล

ETDA เปิดตัว SMEs GROWTH ชวนผู้ประกอบการไทย ยกระดับนวัตกรรมด้านดิจิทัลเชิงพื้นที่ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจดิจิทัล...

Responsive image

Food Biotechnology “เนื้อจากแล็บ” ทางเลือกของอาหารเพื่อมวลมนุษยชาติ

Blood Free Group บริษัท Biotechnology จากซีรีส์เรื่อง Blood Free เปิดตัว ‘เนื้อจากแล็บ’ ตอบรับเทรนด์อาหารแห่งอนาคต เป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพให้กับผู้บริโภค...

Responsive image

เปิดตัว 7 สตาร์ทอัพ FinTech ในงาน Money20/20 Asia เสริมแกร่งอุตสาหกรรมการเงินในภูมิภาค

Money20/20 Asia ผู้จัดงานงานฟินเทคโชว์สุดยิ่งใหญ่เปิดตัวบริษัทสตาร์ทอัพทั้ง 7 ที่เชื่อว่าจะผลักดันพร้อมปฏิวัติโลกของการเงิน...