บทความ / ฟู้ดโคม่า (Food Coma) อาการง่วงนอนหลังกินข้าว
Health
ฟู้ดโคม่า (Food Coma) อาการง่วงนอนหลังกินข้าว
22 เม.ย. 63
8,226
รูปภาพในบทความ ฟู้ดโคม่า (Food Coma) อาการง่วงนอนหลังกินข้าว

ฟู้ดโคม่า (Food Coma) คืออาการที่ร่างกายตอบสนองหลังการรับประทานอาหารมื้อหลัก โดยเฉพาะมื้อเที่ยงแล้วเกิดอาการง่วงนอน อ่อนเพลีย เมื่อยล้า อยากนอนหลับ ซึ่งเป็นอาการปกติทางสรีรวิทยา (Physiology) 

 

อาการฟู้ดโคม่า (Food Coma) เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยไม่มีอันตรายใด ๆ 

 

ปัจจัยที่ทำให้เกิด Food Coma

  1. นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ
  2. ทำงานในช่วงเช้าหนักจนเกินไป
  3. กินอาหารประเภทแป้งและคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป
  4. ร่างกายนำเลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลง เนื่องจากต้องนำเลือดไปเลี้ยงกระเพาะอาหารจากกระบวนการย่อยอาหาร
  5. สมองหลั่งฮอร์โมนเซโรโทนิน (Serotonin) และ เมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้นอนหลับ โดยมีอาหารที่มีกรดไขมันชนิดดีเป็นตัวกระตุ้นการสร้างฮอร์โมน

การเอาชนะอาการ Food Coma

  1. นอนพักผ่อนให้เพียงพอ 7 - 8 ชั่วโมงต่อคืน
  2. จัดการงานให้เสร็จในช่วงเช้า
  3. เลี่ยงงานบางประเภทในช่วงบ่าย เช่น งานประชุม, สัมมนาหรืองานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์
  4. ให้ทำงานที่ต้องใช้เครื่องมือ, สายตา, การปฏิสัมพันธ์กับผู้คน หรืองานสื่อสาร
  5. กินให้พอดี ไม่อิ่มจนเกินไป โดยต้องเคี้ยวให้ละเอียด
  6. ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  7. ลดอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล
  8. หากไม่ไหวให้งีบหลับ 15 - 30 นาที 
ข้อมูลโดย: พญ.กิตติยา ศรีเลิศฟ้า
สังกัด: แพทย์ฝ่ายการแพทย์ AIA
แผ่นเสียง แผ่นเสียง
กำลังออกอากาศ ไม่มีการออกอากาศ แผ่นเสียง Radio แผ่นเสียง Podcast เล่นแผ่นเสียง พักแผ่นเสียง
คลิปเสียงถัดไป