Grid Brief

  • ในการประชุมสุดยอด Climate Ambition Summit เมื่อปี 2566 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ได้มีการพิจารณา 5 ประเด็นสำคัญที่มีวัตถุประสงค์ให้ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้น เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อนที่กำลังเผชิญกันอยู่

ไม่ว่าใครก็น่าจะเห็นหรือรู้สึกว่าสภาพอากาศโลกเราเปลี่ยนแปลงไปแล้วจริง ๆ เพราะเมื่อความร้อนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบในหลายด้าน เช่น อาหาร ภูมิอากาศ ทั่วโลกจึงหันมาให้ความสำคัญกับพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ ความร้อนใต้พิภพ ชีวมวล และก๊าซชีวภาพ รวมถึงผลผลิตและวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร เช่น แกลบ ชานอ้อย กากมันสำปะหลัง หรือมูลสัตว์ ก็สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานหมุนเวียนได้เป็นอย่างดี เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 

ในการประชุมสุดยอด Climate Ambition Summit เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2566 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติในกรุงนิวยอร์ก พิจารณาถึงวิธีเร่งการเปลี่ยนแปลงใน 5 เรื่องสำคัญ ดังนี้

Credit: UN

1. เปลี่ยนการอุดหนุนพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นพลังงานหมุนเวียน

การอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นอุปสรรคทางการเงินที่สำคัญ ซึ่งขัดขวางการเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียนของโลก โดยเลขาธิการสหประชาชาติเรียกร้องอย่างต่อเนื่องให้ยุติการระดมทุนด้านเชื้อเพลิงฟอสซิลจากทั้งภาครัฐและเอกชนระหว่างประเทศ การเปลี่ยนเงินอุดหนุนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลไปเป็นพลังงานหมุนเวียนจะนำไปสู่การลดการใช้เชื้อเพลิง และยังมีส่วนทำให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน การสร้างงาน การสาธารณสุขที่ดีขึ้น และความเท่าเทียมกันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับชุมชนที่ยากจนที่สุดและเปราะบางที่สุดทั่วโลก


2. ดันการลงทุน 3 เท่าในพลังงานหมุนเวียน

มีการประมาณการว่าจะต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปีในพลังงานหมุนเวียนจนถึงปี 2573 เพื่อให้บรรลุการปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 ปริมาณสุทธิเป็นศูนย์เป็นคำที่อธิบายถึงการบรรลุความสมดุลระหว่างคาร์บอนที่ปล่อยออกมาสู่ชั้นบรรยากาศและคาร์บอนที่ถูกกำจัดออกไป ทั้งนี้ การลงทุนในพลังงานหมุนเวียนมีราคาถูกกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล


3. หนุนเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนเป็นสินค้าสาธารณะระดับโลก

เพื่อให้เทคโนโลยีพลังงานทดแทนเป็นสินค้าสาธารณะระดับโลก โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่จำเป็น เช่น ระบบกักเก็บแบตเตอรี่ช่วยให้พลังงานจากพลังงานหมุนเวียนถูกจัดเก็บและปล่อยออกมา เมื่อผู้คน ชุมชน และธุรกิจต้องการพลังงาน เมื่อจับคู่กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน เทคโนโลยีการจัดเก็บแบตเตอรี่จะสามารถจ่ายไฟฟ้าได้ในราคาถูกกว่าให้กับโครงข่ายแยกและชุมชนนอกโครงข่ายในพื้นที่ห่างไกล เช่น ในอินเดีย 

Credit: Freepik

4. ปรับปรุงการเข้าถึงส่วนประกอบและวัตถุดิบทั่วโลก

การจัดหาส่วนประกอบพลังงานทดแทนและวัตถุดิบที่แข็งแกร่งจะเป็นตัวเปลี่ยนเกม จึงจำเป็นต้องมีการเข้าถึงส่วนประกอบและวัสดุหลักทั้งหมดอย่างกว้างขวางมากขึ้น ตั้งแต่แร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับการสร้างกังหันลม แบตเตอรี่และเครือข่ายไฟฟ้า ไปจนถึงองค์ประกอบสำหรับการผลิตยานพาหนะไฟฟ้า


5. ยกระดับความรู้ด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทน

แม้ว่าความร่วมมือและการประสานงานระดับโลกถือเป็นสิ่งสำคัญ แต่กรอบนโยบายภายในประเทศจะต้องได้รับการปฏิรูปอย่างเร่งด่วน ซึ่งการมีส่วนร่วมที่กำหนดในระดับประเทศหรือแผนปฏิบัติการของแต่ละประเทศในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการปรับตัวให้เข้ากับผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศ จะต้องกำหนดเป้าหมายพลังงานหมุนเวียนที่สอดคล้องกับเป้าหมายในการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้อยู่ที่ 1.5 องศาเซลเซียส เหมือนก่อนยุคอุตสาหกรรม คาดว่าส่วนแบ่งของพลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้าทั่วโลกจะต้องเติบโตจากร้อยละ 29 ในปัจจุบัน เป็นร้อยละ 60 ภายในปี 2573

รูปโดย: Freepik