Grid Brief

  • ผลกระทบจากโรคโควิด-19 ทำให้มนุษย์ออฟฟิศต้องเปลี่ยนมาทำงานจากที่ไหนก็ได้ (Remote Working) เป็นความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อชีวิตและจิตใจ นำมาซึ่งการลาออกจากงานครั้งใหญ่พร้อมๆ กันทั่วโลก
  • เพื่อรับมือกับปรากฏการณ์นี้ องค์กรควรมีแนวทางในปฏิบัติในการปรับตัวและมีกลยุทธ์การรับมือที่เหมาะสม

ความยืดเยื้อในการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ยาวนานเกือบ 2 ปี ส่งผลกระทบในด้านต่าง ๆ แม้จะมีการประกาศเปลี่ยนจากโรคระบาดให้เเป็นโรคประจำถิ่น ก็ยังส่งผลให้เกิดปรากฎการณ์หนึ่งที่เรียกว่า ‘The Great Resignation’ ซึ่งกลายเป็นหนึ่งใน ‘Buzzword’ คำที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดในแวดวงคนทำงาน เพราะมีการค้นหาด้วยคำนี้ทางออนไลน์มากกว่า 232 ล้านครั้ง นั่นคือกระแสที่การลาออกจากงานระลอกใหญ่ในทั่วโลก โดยเฉพาะแถบสหรัฐอเมริกาที่มีอัตราการลาออกมากถึงเกือบ 69 ล้านคน

สาเหตุการตัดสินใจลาออกครั้งใหญ่พร้อม ๆ กันนั้นมีหลายปัจจัย ทั้งสมดุลชีวิตที่น้อยลงจากการทำงานแบบ Remote Working หรือการทำงานที่ไหนก็ได้ แต่ต้องแบ่งเวลาให้ถูกต้องเหมาะสม การต้องเผชิญกับภาวะหมดไฟ หรือวัฒนธรรมองค์กรที่บั่นทอนขวัญกำลังใจและความสุขในการทำงาน รวมถึงการได้เรียนรู้ความต้องการของตัวเองมากขึ้นในช่วงที่ต้องเว้นระยะห่างจากผู้คน ทำให้การตัดสินใจลาออกพร้อมกันนี้กระทบกับองค์กรเอกชนหลายแห่ง

คนทำงานในกลุ่ม Boomerang (คนที่กลับมาทำงานบริษัทเดิมที่เคยลาออกไป) กลับเข้ามาทำงานจะมีมากขึ้น เนื่องจากพบว่าการหางานใหม่ไม่ใช่เรื่องง่าย ฉะนั้น องค์กรหรือบริษัทต่าง ๆ ต้องพยายามหากลยุทธ์เพื่อรักษาคนที่มีศักยภาพเอาไว้

ทั้งนี้ รายงาน ‘2022 Global Talent Trends’ ของ Linkedln ซึ่งเป็นเว็บไซต์เครือข่ายอาชีพบนอินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในโลก ระบุว่า นี่คือช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนสำหรับวัฒนธรรมองค์กร พนักงานพร้อมออกจากงานที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของตัวเอง ข้อมูลนี้สอดคล้องกับที่ ‘Gartner’ บริษัทวิจัยชั้นนำของโลกที่ประเมินว่า อัตราการเข้า-ออกงาน หรือ Turnover Rate สูงขึ้น 50-75 เปอร์เซ็นต์ และนายจ้างใช้เวลาในการหาแรงงานนานขึ้นถึง 18 เปอร์เซ็นต์

แม้ว่า The Great Resignation อาจยังไม่เกิดขึ้นในเมืองไทยมากนัก แต่จากผลสำรวจโดยคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่า ปัญหาการลาออกในไทย ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก และกำลังมีปัญหาการขาดแคลนคนเก่งหรือผู้เชี่ยวชาญบางทักษะ รวมทั้งควรเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับมือการลาออกของพนักงาน ซึ่งจะเกิดขึ้นในกลุ่มพนักงานออฟฟิศ โดยเฉพาะคนเก่งที่มีทักษะเป็นที่ต้องการของตลาดจะถูกแย่งตัวไปอยู่กับบริษัทคู่แข่ง หรืออุตสาหกรรมใกล้เคียง บ้างก็เปลี่ยนอาชีพไปเลย ทำให้องค์กรหาคนมาทำงานยากขึ้น

ใน Harvard Business Review ระบุว่า องค์กรเริ่มมองหากลยุทธ์และแนวปฏิบัติที่จะช่วยบรรเทาปัญหานี้ ประกอบกับมีกระแสที่เรียกว่า The Great Return คือ การที่คนทำงานในกลุ่ม Boomerang (คนที่กลับมาทำงานบริษัทเดิมที่เคยลาออกไป) กลับเข้ามาทำงานจะมีมากขึ้น เนื่องจากพบว่าการหางานใหม่ไม่ใช่เรื่องง่าย ฉะนั้น องค์กรหรือบริษัทต่าง ๆ ต้องพยายามหากลยุทธ์เพื่อรักษาคนที่มีศักยภาพเอาไว้

การปรับตัวขององค์กร มีแนวปฏิบัติ ดังนี้

  • การทำงานแบบ Hybrid คือ ยังมีการเข้ามาออฟฟิศบ้างในแต่ละสัปดาห์ เช่น เข้าออฟฟิศ 3 วัน และทำงานที่บ้าน 2 วันต่อสัปดาห์
  • ยุคสมัยนี้พนักงานมิลเลนเนียลและพนักงาน Gen Z เริ่มมีบทบาทในองค์กรมากขึ้น องค์กรไม่อาจยึดติดระเบียบแบบแผนและวิธีคิดแบบเดิมได้อีกต่อไป นอกจากความยืดหยุ่นแล้ว ต้องใส่ใจไปถึงการปรับเปลี่ยนตามประสบการณ์ของพนักงานด้วย
  • ปรับสวัสดิการผลประโยชน์ต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับพนักงานหลายรุ่นมากขึ้น
  • ให้ความสำคัญกับ Wellbeing หรือความเป็นอยู่ที่ดี ทั้งด้านการเงินสำหรับการเกษียณอายุด้านร่างกาย เพื่อให้พนักงานมีสุขภาพแข็งแรง ลดการเจ็บป่วย และลดภาระด้านค่ารักษาพยาบาล ด้านจิตใจ เพื่อลดความเครียดและปัญหาด้านจิตใจ
  • องค์กรควรมีระบบการดูแล สอนงาน และให้คำปรึกษากับพนักงานรุ่นใหม่และพนักงานที่ต้องการคำปรึกษา เพื่อให้พนักงานทุกรุ่นทำงานร่วมกันได้
  • เสริมสร้างเส้นทางการเติบโตในอาชีพ เพื่อให้พนักงานรู้สึกมีอนาคตในการทำงาน

3 กลยุทธ์รับมือ

‘The Great Resignation’ Adecco บริษัทผู้ให้บริการด้านสรรหาบุคลากรระดับโลก ระบุถึงวิธีป้องกันการลาออกพร้อม ๆ

กันของพนักงานในองค์กรไว้ว่า

  1. องค์กรควรปรับอัตราเงินเดือนที่เหมาะสม มีการสื่อสารให้พนักงานเข้าใจ และมองหาวิธีการแก้ปัญหาอื่น ๆ ประกอบกัน เช่น การมอบสิทธิประโยชน์อื่น ๆ หรือปรับรูปแบบการทำงานให้ยืดหยุ่นเพื่อให้พนักงานมีสมดุลในการใช้ชีวิตมากขึ้น
  2. จากการสำรวจ พบว่า พนักงานให้ความสำคัญกับความสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัว (Work-Life Balance) มากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ โดยให้ความสำคัญเทียบเท่ากับค่าตอบแทน ดังนั้น หากองค์กรสามารถมอบความสมดุลนั้นให้พนักงานได้ จะช่วยรั้งคนเก่งให้อยู่กับองค์กรต่อไป
  3. การบริหารงานของหัวหน้า เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจลาออกของพนักงาน ฉะนั้น องค์กรควรฝึกอบรมหัวหน้าให้มีทักษะการบริหารพนักงานที่ไม่จำกัดสถานที่ทำงาน (Remote Working) มากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการบริหารแบบ Micro Management ที่ใส่ใจรายละเอียดทุกอย่างการจัดการปริมาณงาน (Workload) ไม่เหมาะสมปัญหาด้านความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้พนักงานจำนวนมากหมดไฟและคิดจะเปลี่ยนงานใหม่ หากมีโอกาสเข้ามา