Grid Brief

  • เทคโนโลยีดิจิทัลไม่เพียงช่วยให้การติดต่อสื่อสารรวดเร็วทันใจและใช้ชีวิตง่ายขึ้น แต่ยังนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบำบัดสุขภาพจิตด้วย
  • อุปสรรคสำคัญในการรักษาปัญหาสุขภาพจิต คือค่าใช้จ่าย เวลาในการเข้ารับการรักษา และการยอมรับของสังคม
  • ปัจจุบันมีแอปพลิเคชันด้านสุขภาพจิตเกือบ 10,000 แอปพลิเคชัน ที่มีส่วนช่วยเยียวยาจิตใจของผู้คนทั่วโลก

จากสภาพสังคมที่เร่งรีบและวิกฤตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้คนในยุคนี้ตกอยู่ในภาวะเครียดได้ง่าย หลายคนอาจกลายเป็นผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิตโดยไม่รู้ตัว การคิดค้นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ช่วยบำบัดผู้มีปัญหาด้านนี้ จึงช่วยอำนวยความสะดวกและทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้ง่ายขึ้น

สุขภาพใจ…ต้องใส่ใจ

กระแสนิยมของผู้คนในยุคนี้ นอกจากใส่ใจดูแลร่างกายให้แข็งแรงแล้ว ยังให้ความสำคัญกับการดูแลจิตใจด้วย ซึ่งจากการอ้างอิงของ The World Health Organization ระบุว่า ร้อยละ 25 ของประชากรทั่วโลก (ประมาณ 450 ล้านคน) มีภาวะผิดปกติของระบบประสาท หรือมีปัญหาด้านจิตใจ และ 2 ใน 3 ของบุคคลเหล่านี้ มีทั้งผู้ที่เข้ารับการรักษาแต่ไม่ได้รับการบริการทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานเพียงพอ และผู้ที่ไม่เคยเข้ารับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเลย 

จากปัญหานี้ทำให้มีการศึกษา และ คิดค้นผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยรับมือกับปัญหานี้ ด้วยการผสมผสานการแพทย์แบบดั้งเดิม และ การแพทย์แบบองค์รวม โดยอาศัยความล้ำสมัยของเทคโนโลยี และ อุปกรณ์ดิจิทัลเพื่อนำมาใช้ในการบำบัดรักษา และ การดูแลสุขภาพจิต เพราะการเข้ารับการรักษาปัญหาด้านจิตใจในยุคนี้ไม่ใช่แค่การนั่งสนทนาปรับทุกข์ให้จิตแพทย์ฟังเช่นในอดีตอีกต่อไป


สารพัดเครื่องมือ

ภาพหน้าจอมือถือแสดงการทำงานของแอปพลิเคชัน Clam
credit: Calm application

บริษัท Silicon Valley ในฐานะผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ได้เข้ามามีส่วนร่วมในตลาดการดูแลสุขภาพทางใจนี้ด้วย โดย คิดค้นเครื่องมือทำสมาธิอย่าง Calm ที่ช่วยตอบสนองความต้องการใช้งานที่รอบคอบ และยืดหยุ่นขึ้น ซึ่งได้พัฒนาเป็นบริษัทมูลค่าหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ และยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับงานวิจัยของ MarketsandMarkets ที่มีการคาดการณ์ว่า ตลาดซอฟต์แวร์ด้านพฤติกรรมสุขภาพจะเติบโตประมาณ 14.8% ต่อปี และมีมูลค่าตลาดสูงถึง 2.31 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี พ.ศ.2565 

ด้านนักวิทยาศาสตร์มีการศึกษาว่า ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) ส่งผลกระทบต่อจิตเวชและสุขภาพจิตด้านอื่นๆ อย่างไร นอกจากนี้ ยังคาดการณ์ว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า การวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยด้านจิตเวช จะมีเครื่องมือเพื่อสุขภาพเข้ามาเสริมการรักษาทางการแพทย์มากขึ้น เป็นต้นว่า การประชุมทางไกลทุกสัปดาห์ระหว่างผู้ป่วยกับนักจิตบำบัด หรือการใช้แอปพลิเคชันเพื่อทำสมาธิในช่วงที่รู้สึกเครียด หรือการสวมสร้อยข้อมือเพื่อเตือนให้รู้ตัวว่ากำลังวิตกกังวลอยู่


แพทย์ (เสมือน) ที่รักษาได้จริง

ภาพหน้าจอการทำงานของแอปพลิเคชัน TalkSpace
credit: TalkSpace application

Regain เป็นแอปพลิเคชันที่เชี่ยวชาญการบำบัดปัญหาด้านจิตใจให้คู่รัก ส่วน Pride Counseling เน้นการให้บริการบุคคลในกลุ่มเพศทางเลือก หรือ LGBTQ ในขณะที่ Henry Health มุ่งเป้าการให้บริการไปที่ผู้ป่วยที่เป็นเพศชายผิวดำ

ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ผู้ป่วยสามารถได้รับการรักษาปัญหาทางจิตโดยอาศัยแอปพลิเคชันต่างๆ จึงไม่จำเป็นต้องพบแพทย์แบบตัวเป็นๆ เหมือนอย่างแต่ก่อนอีกต่อไปแล้ว 

  • แอปพลิเคชันการบำบัดเสมือนจริง เช่น TalkSpace, BetterHelp และ Amwell ช่วยให้ผู้ป่วยพูดคุยทางไกลผ่านข้อความและวิดีโอขณะอยู่ที่บ้านกับที่ปรึกษามืออาชีพได้อย่างสะดวกสบายตามเวลาที่นัดหมาย เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีเวลาจำกัด หรืออยู่ห่างไกล 

  • แพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น Rethink My Therapy ให้บริการด้านการบำบัด ทั้งแบบรายบุคคลหรือบำบัดเป็นคู่สำหรับปัญหาด้านความสัมพันธ์ ซึ่งผู้ป่วยสามารถเลือกผู้เชี่ยวชาญที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพด้านจิตเวชกว่า 1,000 คนบนแพลตฟอร์ม โดยนัดหมายผ่านสมาร์ทโฟนหรือบนเว็บไซต์ได้ตลอดเวลา และคิดราคาเหมาจ่ายเดือนละ 60 เหรียญสหรัฐ เหมาะกับผู้ป่วยรุ่นมิลเลนเนียลที่ต้องการให้การนัดหมายแพทย์ง่ายเหมือนการสั่งอาหารออนไลน์ คนรุ่นนี้มีแนวโน้มที่จะจัดการกับปัญหาสุขภาพจิตมากกว่าคนรุ่นก่อน ๆ มาก ซึ่ง Richard Rosenblum ซีอีโอของ Rethink My Therapy กล่าวว่า  “ผู้ป่วย 7 ใน 10 คน รู้สึกสบายใจที่จะขอความช่วยเหลือจากเรา เพราะพวกเขาไม่ต้องการให้ใครเห็น และต้องการความสะดวกในการพบแพทย์” Richard Rosenblum ซีอีโอของ Rethink My Therapy 

  • แอปพลิเคชันการบำบัดเสมือนอื่นๆ เป็นศูนย์เกี่ยวกับการจับคู่ที่ปรึกษา เพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะของผู้ป่วย เช่น Regain เป็นแอปพลิเคชันที่เชี่ยวชาญการบำบัดปัญหาด้านจิตใจให้คู่รัก ส่วน Pride Counseling เน้นการให้บริการบุคคลในกลุ่มเพศทางเลือก หรือ LGBTQ ในขณะที่ Henry Health มุ่งเป้าการให้บริการไปที่ผู้ป่วยที่เป็นเพศชายผิวดำ และ Ayana แอปพลิเคชันที่เพิ่งเปิดตัว ทำหน้าที่เชื่อมโยงชุมชนชายขอบกับนักบำบัดจิตที่มาจากวัฒนธรรมภูมิหลังและเชื้อชาติเดียวกันกับผู้ป่วย

การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่

ผู้หญิงสวมเสื้อกล้าม ที่ข้อมือมีสายรัดสีแดงที่ใช้ในการตรวจจับอารมณ์
credit: myfeel.co

นอกจากการพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันหรือแพลตฟอร์มต่างๆ แล้ว ยังมีการคิดค้นนวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาด้านสุขภาพทางจิตด้วย 

  • คลินิก Sentio Solutions เพิ่งเปิดตัว Feel สายรัดข้อมือที่มีคุณสมบัติพิเศษ ในการตรวจจับอารมณ์ พร้อมทั้งมีไบโอเซ็นเซอร์ในตัวที่ใช้ตรวจสอบสัญญาณทางสรีรวิทยาของผู้สวมใส่ได้ตลอดทั้งวัน โดยใช้คู่กับแอปพลิเคชันบำบัดความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรม (CBT) เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีความวิตกกังวลและอยู่ในภาวะซึมเศร้า 
  • แอปพลิเคชันฝึกสติและฝึกทำสมาธิ เช่น Headspace, Calm และ Sanity & Self เป็นแทร็กเสียงที่ช่วยให้ผู้ฟังรู้สึกผ่อนคลาย และให้จิตใจมีความแข็งแกร่งขึ้น มักจับคู่การฝึกสติและการทำสมาธิเข้ากับการกำหนดลมหายใจ หรือใช้อุปกรณ์ช่วยในการมองเห็นและคู่มือการจดบันทึกในการฝึกฝน เน้นผู้ป่วยที่เป็นผู้หญิงที่อาจกำลังอยู่ในภาวะตึงเครียดทางอารมณ์อยู่
  • แอปพลิเคชันที่ช่วยบำรุงสุขภาพจิต SuperBetter เป็นการให้คะแนนเมื่อผู้ป่วยสามารถอดทนต่อสถานการณ์ที่ตึงเครียด ด้วยการฝึกการหายใจ 

คนดังและเหล่าโซเชียลมีเดียก็มีส่วนร่วมเช่นกัน

ภาพวาดคนยืนกระจายกันเพื่อพูดถึง Pinterest ที่เป็นโซเชียลเน็ตเวิร์กที่ใช้ค้นหาคำที่สื่อแทนสภาวะทางใจของตัวเอง

Pinterest เป็นหนึ่งในโซเชียลเน็ตเวิร์กที่เปิดตัวเครื่องมือค้นหาที่ช่วยให้ผู้ใช้มองหาคำต่างๆ ในการสื่อแทนสภาวะทางจิตใจของตัวเองในขณะนั้น เช่น ความวิตกกังวลในการทำงาน หรือ ความเครียด เพื่อนำพาไปสู่กิจกรรมที่มีการปักหมุดไว้ที่อาจช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น ส่วน Facebook เปิดตัวเครื่องมือที่ช่วยจำกัดเวลาการใช้โซเชียลมีเดียให้เหมาะสม เพราะการหมกมุ่นอยู่ในสังคมออนไลน์มากเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าและความรู้สึกไร้ค่า ในขณะที่ Instagram มีนโยบายยกเลิกการกดถูกใจ (Like) ที่ส่งผลกระทบจิตใจกับบุคคลทั่วไปได้ จากการรู้สึกถูกเปรียบเทียบกับผู้มีอิทธิพลในสังคมโซเชียลมีเดีย (Influencer)